วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เเหล่งอ้างอิงที่มาของข้อมูล

http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20intro3.htm

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
จุดกำเนิดของคอมพิวเตอร์
ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์อาจกล่าวได้ว่ามาจากแนวความคิดของระบบตัวเลข ซึ่งได้พัฒนาเป็นวิธีการคำนวณต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณอย่างง่าย ๆ คือ" กระดานคำนวณ" และ "ลูกคิด"
ในศตวรรษที่ 17 เครื่องคำแบบใช้เฟื่องเครื่องแรกได้กำเนิดขึ้นจากนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศษ คือ Blaise Pascal โดยเครื่องของเขาสามารถคำนวณการบวกการลบได้อย่างเที่ยงตรง และในศตวรรษเดียวกันนักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันคือ Gottried Wilhelm von Leibniz ได้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกที่สามารถคูณและหารได้ด้วย
ในต้นศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศษชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พัฒนาเครื่องทอผ้าที่สามารถโปแกรมได้ โดยเครื่องทอผ้านี้ใช้บัตรขนาดใหญ่ ซึ่งได้เจาะรู้ไว้เพื่อควบคุมรูปแบบของลายที่จะปัก บัตรเจาะรู(punched card) ที่ Jacquard ใช้นี้ได้ถูกพัฒนาต่อๆมาโดยผู้อื่น เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ
ต่อมาในศตวรรษเดียวกัน ชาวอังกฤษชื่อ Charles Babbage ได้ทำการสร้างเครื่องสำหรับแก้สมการโดยใช้พลังงานไอน้ำ เรียกว่า difference engine และถัดจากนั้นได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เมื่อเขาได้ทำการออกแบบ เครื่องจักรสำหรับทำการวิเคราะห์ (analytical engine) โดยใช้พลังงานจากไอน้ำ ซึ่งได้มีการออกแบบให้ใช้บัตรเจาะรูของ Jacquard ในการป้อนข้อมูล ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้มีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ครบตามรูปแบบของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ แต่โชคไม่ดีที่แม้ว่าแนวความคิดของเขวจะถูกต้อง แต่เทคโนโลยีในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเครื่องที่สามารถทำงานได้จริง อย่างไรก็ดี Charles Babbage ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์คนแรก และผู้ร่วมงานของเขาคือ Augusta Ada Byron ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก
เครื่อง Difference Engine ของ Charles Babbage

จากนั้นประมาณปี ค.ศ. 1886 Dr.Herman Hollerith ได้พัฒนาเครื่องจัดเรียงบัตรเจาะรูแบบ electromechanical ขึ้น ซึ่งทำงานโดยใช้พลังงานไฟฟ้า และสามารถทำการ จัดเรียง (sort) และ คัดเลือก (select) ข้อมูลได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1896 Hollerith ได้ทำการก่อตั้งบริษัทสำหรับเครื่องจักรในการจัดเรียงชื่อ Tabulating Machine Company และในปี ค.ศ.1911 Hollerith ได้ขยายกิจการโดยเข้าหุ้นกับบริษัทอื่นอีก 2 บริษัทจัดตั้งเป็นบริษัท Computing -Tabulating-Recording-Company ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และในปี ค.ศ. 1924 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น International Business Corporation หรือที่รู้จักกันต่อมาในชื่อของบริษัท IBM นั่นเอง
เครื่องจัดเรียงบัตรเจาะรูของ Dr. Her Hollerith

ในปี ค.ศ.1939 Dr. Howard H. Aiken จาก Harvard University ได้ร่วมมือกับบริษัท IBM ออกแบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ทฤษฎีของ Babbage และในปี ค.ศ.1944 Harvard mark I ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ซึ่งมีขนาดยาว 5 ฟุต ใช้พลังงานไฟฟ้าและใช้ relay แทนเฟือง แต่ยังทำงานได้ช้าคือใช้เวลาประมาณ 3-5 วินาทีสำหรับการคูณ
การพัฒนาที่สำคัญกับ Mark I ได้เกิดขึ้นปี 1946 ดดย Jonh Preper Eckert, Jr. และ Dr. Jonh W.Msuchly จาก University of Pennsylvnia ได้ออกแบบสร้างเครื่อง ENIAC ( Electronic Numeric Integator and Calcuator ) ซึ่งทำงานได้เร็วอยู่ในหน่วยของหนึ่งส่วนล้านวินาที ในขณะที่ Mark I ทำงานอยู่ในหน่วยของหนึ่งส่วนพันล้านเท่า โดยหัวใจของความสำเร็จนี้อยู่ที่การใช้หลอดสูญญากาศมาแทนที่ relay นั่นเอง และถดจากนั้น Mauchly และ Eckert ก็ทำการสร้าง UNIVAC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิส์เพื่อการค้าเครื่องแรกของโลก
เครื่อง ENIAC สูง 10 ฟุต กว้าง 10 ฟุต และยาว 10 ฟุต

การพัฒนาที่สำคัญได้เกิดขึ้นมาอีก เมื่อ Jonh von Neumann ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของโครงการ ENIAC ได้เสนอแผนสำหรับคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่จะทำการเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำที่เหมือนกับที่เก็บข้อมูล ซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สามารถเปลียนวงจรของคอมพิวเตอร์ได้ดดยอัตโนมัติแทนที่จะต้องทำการเปลียนสวิทต์ด้วยมือเหมือนช่วงก่อน นอกจากนี้ Dr. Von neumann ยังได้นำระบบเลขฐานสองมาใช้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งหบักการต่งๆเหล่านี้ได้ทำให้เครื่อง IAS ที่สร้างโดย Dr. von Neumann เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์เครื่องแรกของโลก เป็นการเปิดศักราชของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริงและยังได้เป็นบิดาคอมพวเตอร์คนที่ 2
ยุคของคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถแบ่งออกได้โดยแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ (Hardward ) เป็น 4 ยุคด้วยกัน
ยุคที่ 1 (1951-1958)
ก่อนหน้าปี 1951 เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีใช้เฉพาะนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และทหารเท่านั้น จนกระทั่งผู้สร้าง ENIAC คือ Mauchly และ Eckert ได้จัดตั้งบริษัทเพื่อทำตลาดเชิงพาณิชย์ของเครื่องรุ่นถัดมาของพวกเขา คือเครื่อง UNIVAC ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะมี หลอดสูญญากาศ และ ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) เป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่หลอดสุญญากาศจะมีไม่น่าเชื่อถือสูง เป็นเหตุให้ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการทำให้เครื่องในยุคนั้นสามารถทำงานได้ ส่วนดรัมแม่เหล็กถูกใช้เป็นหน่วยความจำหลัก (primary memory) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมากในยุคแรกนี้ ส่วนหน่วยบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ซึ่งใช้เก็บทั้งข้อมูลและคำสั่งโปรแกรมในยุคนี้จะอยู่ในบัตรเจารู จนปลายยุคนี้เทปแม่เหล็กจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นหน่วยบันทึกข้อมูลสำรอง
ภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะอยู่ในรูปของภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นตัวเลขฐาน 2 ทั้งสิ้น ทำให้ผู้ที่จะสามารถโปรแกรมให้เครื่องทำงานได้ ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
เครื่อง UNIVAC

ยุคที่ 2 (1959-1964)
การพัฒนาที่สำคัญที่สุดที่แบ่งแยกยุคนี้ออกจากยุคแรก คือการแทนที่หลอดสูญญากาศด้วยทรานซิสเตอร์ (transistor) หน่วยความจำพื้นฐานก็ได้มีการพัฒนามาเป็น magnetic core รวมทั้งมีการใช้ magnetic disk ซึ่งเป็นหน่วยบันทึกข้อมูลสำรองที่มีความเร็วสูงขึ้น นอกจากนี้ ส่วนประกอบที่คอมพิวเตอร์ได้ถูกรวบรวมเข้าไว้ใน แผ่นวงจรพิมพ์ลาย (printed circuit boards) ซึ่งง่ายต่อการเปลี่ยนและมีการสร้างโปรแกรมวิเคราะห์เพื่อหาส่วนผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว
ภาษาโปรแกรมระดับสูง เช่น FORTRAN และ COBOL ได้ถูกใช้ในการโปรแกรมสำหรับยุคนี้ โปรแกรมเมอร์สามารถใช้งานภาษาเหล่านี้ได้สะดวกกว่าคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 เนื่องจากมีไวยากรณ์ที่คล้ายคลืงกับภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ดี เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้แต่เฉพาะกับภาษาเครื่อง ทำให้ต้องใช้โปรแกรมตัวอื่น คือ compiler และ interpreter ในการแปลงภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
ในยุคที่ 2 เริ่มมีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่อยู่ห่างกันโดยผ่านสายโทรศัพท์ ถึงแม้ว่าจะติดสื่อสารกันได้ช้ามากก็ตาม ปัญหาในยุคนี้คืออุปกรณ์รับข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผลทำงานได้ช้ามาก ทำให้คอมพิวเตอร์ต้องรอการรับข้อมูลหรือการแสดงผลบ่อย ๆ ซึ่ง Dr.Daniel Slotnick ได้ทำการพัฒนาเพิ่มเติม โดยใช้หลักการของการประมวลผลแบบขนานกัน นอกจากนั้ยังมีกลุ่มคณาจารย์และนักเรียกจาก Massachusetts Instiute of Technoligy พัฒนาระบบ มัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) ซึ่งเป็นการจัดสรรให้คอมพิวเตอร์ทำงานหลายโปรแกรมพร้อม ๆ กนได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลารอหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลอีกต่อไป
ยุคที่ 3 (1965-1971)
ในยุคที่ 3 เป็นยุคของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีการเติบโตมาก ได้มีการนำ แผงวงจรรวม (IC หรือ integrated circuits) ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์และวงจรไฟฟ้าที่รวอยู่บนแผ่นซิลิกอนเล็ก ๆ มาแทนการประกอบแผ่นวงจรพิมพ์ลาย ทำให้เวลาการทำงานขิงคอมพิวเตอร์ลดลงอยู่ในหน่วยหนึ่งส่วนพันล้านวินาที นอกจากนี้ มินิคอมพิวเตอร์ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1965 คือเครื่อง PDP-8 ของ Digital Equipment Corportion (DEC) ซึ่งต่อมาก็มีการใช้มินิคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์กันอย่างแผร่หลาย รวมทั้งมีการใช้งาน เทอร์มินัล (terminal) ซึ่งเป็นจอคอมพิวเตอร์ผ่านทาง คีย์บอร์ด (keyboard) ทำให้การป้อนข้อมูลและพัฒนาโปรแกรมกระทำได้สะดวกขึ้น
แผงวงจรรวมเปรียเทียบกันทรานซิสเตอร์และหลอดสูญญากาศ

ภาษาโปรแกรมระดับสูงได้เกิดขึ้นมากมานในยุคที่ 3 เช่น RPG APL BASICA เป็นต้น และได้มีการเปิดตัว โปรแกรมจัดการระบบ (Operating system) ซึ่งช่วยให้สามารถบริการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบแบ่งเวลา (time sharing) ก็ทำให้สามารถติดต่อเทอร์มินัลจำนวนมากเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนสามารถทำงานในส่วนของตนได้พร้อม ๆ กัน
ยุคที่ 4 (1971-ปัจจุบัน)
ในยุคที่ 4 เทคโนโลยีแผงวงจรรวมได้พัฒนาขึ้นเป็น แผงวงจรรวมขนาดใหญ่ (LSI หรือ large-scale integartion) และจากนั้นก็มีการพัฒนาต่าเป็น แผงวงจรขนาดใหญ่มาก (Very Large-Scale integartion - VLSI) ซึ่งทำให้เกิด microprocessor ตัวโลกของโลก คือ Intel 4004 จากบริษัท Intel ซึ่งเป็นการใช้แผ่นชิฟเพียงแผ่นเดียวสำหรับเก็บ หน่วยควบคุม (control unit) และ คำนวณเลขตรรกะ (arithmetic-logic unit) ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเทคนิคในการย่อทรานซีสเตอร์ให้อยู่กันอย่างหนาแน่นบนแผ่นซิลิกอนนี้ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากปัจจุบันสามารถเก็บทรานซิสเตอร์นับล้านตัวไว้ในชิปเพียงหนึ่งแผ่น ในส่วนของหน่วยบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ก็ได้เพิ่มความจุขึ้นอย่างมากจนสามารถเก็บข้อมูลนับพันล้านตัวอักษรได้ในแผ่นดิสก์ขนาด 3 นิ้ว
เนื่องจากการเพิ่มความจุของหน่วยบันทึกข้อมูลสำรองนี่เอง ซอฟต์แวร์ชนิดใหม่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อให้สามารถเก็บรวมรวบและบันทึกแก้ไขข้อมูลจำนวณมหาศาลที่ถูกจัดเก็บไว้ นั่นคือ ซอฟร์แวร์ ฐานข้อมูล (Data base ) นอกจากนี้ ยังมีการถือกำเนิดขึ้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปี 1975 คือเครื่อง Altair ซึ่งใช้ชิป intel 8080 และถัดจากนั้นก็เป็นยุคของเครื่อง และ ตามลำดับ ในส่วนของซอฟต์แวร์ก็ได้มีการพัฒนาให้เป็นมิตรกับผู้ใช้ มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งมีการนำเทคนิคต่าง ๆ เช่น OOP (Object-Oriented Programming) และ Visual Programming มาเป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนา
การพัฒนาที่สำคัญอื่นๆในยุคที่ 4 คือการพัฒนาเครื่องข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันได้ โดยการใช้งานภายในองค์กรนั้น ระบบเครื่อข่ายท้องถิ่น (Local Araa Networks) ซึ่งนิยมเรียกว่า แลน (LANs) จะมีบทบาทในการเชื่องโยงเครื่องนับร้อยเข้าด้วยกันในพื้นที่ไท่ห่าวกันนัก ส่วนระบบเครื่องข่ายระยะไกล ( Wide Area Networks ) หรือ แวน (WANs) จะทำหน้าที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลคนละซีกโลกเข้าด้วยกัน

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

ปัญหาเเละข้อจํากัดของคอมพิวเตอร์

[แก้] ข้อความหัวเรื่อง Mealy FSM มีลักษณะดังนี้

  1. สามารถนำมาอธิบายฟังก์ชันการทำงานของวงจรเดียวกันได้และยังสามารถที่นำ Mealy FSM มาวิเคราะห์ได้จาก Moore FSM
  2. Mealy FSM ใช้อธิบายการทำงานของวงจรได้ดีกว่า Moore FSM และ Mealy FSM ใช้พื้นที่สำหรับการสร้างวงจรน้อยกว่าMoore FSM
  3. Mealy FSM จะให้ Output ทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ Input กล่าวคือ Mealy FSM จะให้ Output ที่ตอบสนองต่อสัญญาณนาฬิกาได้เร็วกว่า Moore FSM ที่มวงจรขนาดเท่ากัน
  4. Moore FSM ไม่มีวงจร Combinational Logic ต่ออยู่ระหว่าง Inputs และ Outputs

การออกแบบ FSMs ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน 1. การกำหนด State เพื่อกำหนด Output ของระบบ 2. การกำหนดการเปลี่ยนแปลงจาก State หนึ่งไปยังอีก State หนึ่ง เมื่อมี Inputมากระตุ้นระบบ 3. การทำ Optimization และ Minimization หมายถึงการนำ FSMs ไปสร้างให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและวงจรที่ได้มีขนาดเล็กที่สุด FSMs ที่นิยมนำมาออกแบบวงจรดิจิตอล คือ Moore Machine และ Mealy Machine การออกแบบระบบโดย Mealy FSMs ที่มีการทำงานดังรูป Fsm1.jpg การออกแบบวงจร FSM

 ขั้ั้นทีี่ 1. กำาหนดขอบเขตของงานออกมาในรูปของตาราง PS / NS,State diagram, ASM Chart, Flow map หรือ TimingDiagram
ขั้ั้นทีี่ 2. กำาหนดจำานวนฟลิปฟลอปและตัวแปรสถานะ (ฟลิปฟลอปหนึึ่งตัวใช้ต้ตัวแปรหนึึ่งตัว) ใช้ร้รหัสหนึึ่งต่อ่อหนึึ่งสถานะ
ขั้ั้นทีี่ 3. เลือกชนิดของฟลิปฟลอป กำาหนดอินพุท และสมการเอาท์พ์พุทแบบมัวร์แ์และ/หรือเมียลี
ขั้ั้นทีี่ 4. เขียนแผนผังโลจิก

เเนะนําตัว

ชื่อเด็กหญิง นุศรา วิริยะเจริญผล ชื่อเล่น แนน ชั้น ม. 1/2 เขที่ 45
โรงเรียนอาเวมารีอา
ครูผู้สอน คุณครุ วีระชน ไพสาทย์

ประเภทของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไร...บ้างน้า

การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ได้แบ่งตามขนาดของระบบ แต่จะแบ่งตามลักษณะของข้อมูลที่ระบบนำมาประมวลผล ถ้าพิจารณาแล้วข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันโดยทั่วไปสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลประเภทไม่ต่อเนื่อง ( discrete data) และข้อมูลประเภทต่อเนื่อง (continuous data) ข้อมูลประเภทไม่ต่อเนื่องคือ ลักษณะของข้อมูลที่สามารถนับได้เป็นจำนวนทีแน่นอน นั่นคือ จะนับทีละ 1 หน่วยได้ เช่น จำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย จำนวนรถยนต์ในประเทศไทย ข้อมูลประเภทต่อเนื่อง ได้แก่ ข้อมูลที่ได้มาจากการวัด เช่น ความเร็วของรถยนต์ อุณหภูมิของร่างกาย ระบบคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้นได้แก่ คอมพิวเตอร์ที่ทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่องซึ่งเรียกว่าคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล ส่วนระบที่ทำงานกับข้อมูลแบบต่อเนื่องเรียกว่า คอมพิวเตอร์แอนะลอก และถ้านำระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลกับแบบแอนะลอกรวมกันเรียกว่า ระบบคอมพิวเตอร์แบบไฮบริด นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ยังสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท คือ คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ และคอมพิวเตอร์เฉพาะกิจ คอมพิวเตอร์เฉพาะกิจคือ คอมพิวเตอร์ถูกออกแบบและสร้างให้ทำงานเฉพาะอย่างเท่านั้นโดยไม่สามารถนำไปใช้งานชนิดอื่นได้ ส่วนมากจะเป็นคอมพิวเตอร์ใช้ในการควบคุม เช่นควบคุมระบบการจ่ายและจุดฉีดน้ำมันในรถยนต์ หรือใช้ในระบบนำวิถีของจรวด คอมพิวเตอร์อเนกประสงค์คือ ระบบที่ได้รับการออกแบบให้ประยุกต์ใช้งานได้อย่างนับไม่ถ้วน คือ ระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา และเมื่อต้องการใช้เครื่องทำงานอะไร ก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่เหมาะสมเข้ามาใช้งาน ก็สามารถเก็บโปรแกรมไว้หลายโปรแกรมในเครื่องเดียวกันได้ แบ่งตามขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์ มักจะวัดกันตามขนาดความจุของหน่วยความจำหลักที่ใช้งาน (Main Memory) ซึ่งหน่วยวัดความจุอาจอยู่ในเทอมของกิโลไบต์ (Kilobyte หรือ KB) โดย 1 KB จะมีค่า = ไบต์ หรือ 1024 ตัวอักขระ (1 ไบต์ มีค่าเท่ากับ 1 ตัวอักขระ) ดังนั้น ถ้าคอมพิวเตอร์มีความจุ 10 K จะมีความหมายว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลักได้ ไบต์ หรือเท่ากับ 10,240 ตัวอักขระนอกจากนี้ขนาดหน่วยความจำยังอาจมีหน่วยวัดอยู่ในเทอมของเมกะไบต์ (Megabyte หรือ MB หรือ M ) โดย1 MB = 1024 KB = 1024 X 1024 =1,048,576 ไบต์ (ตัวอักขระ) หรืออาจอยู่ในเทอมของจิกะไบต์ (Gigabyte หรือ GB) โดย 1 = 1024 MB = 1024 X 1024 X 1024 = 1,073,741,824 ไบต์(ตัวอักขระ) เป็นต้น

1. ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่นิยมใช้ทั่วไปในปัจจุบัน
บางครั้งเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal coputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถ
เคลื่อนย้ายไปไหนได้โดยง่าย ปกติจะมีผู้ใช้ครั้งละ 1 คนต่อ 1 เครื่อง ปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.1 กลุ่มพีซี (personal computer) ใช้งานทั่วไป เช่นพิมพ์เอกสาร จัดฐานข้อมูล ฯลฯ
1.2 กลุ่มแมคอินทอช (macintosh) ใช้เกี่ยวกับงานกราฟิค เป็นส่วนใหญ่

2. มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะปานกลาง ต่ำกว่าเมนเฟรม
แต่ทำงานพร้อมกันได้หลายคน ต่อพ่วงกับเครื่องปลายทางได้น้อยกว่าเมนเฟรม มักใช้กับกิจกรรมขนาดย่อม
เช่น กิจกรรมโรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล สถานศึกษา โดยทั่วไปมินิคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ
ประมาณ 4 ล้านตัวอักษรขึ้นไป มีหน่วยความจำรอง 500 ล้านตัวอักษร และมีความเร็วในการทำงานประมาณ
ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคำสั่งต่อวินาที

3. เมนเฟรม (Mainframe) คือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์บางแห่งมีสถานีงาน (workstation) หรือ เครื่องปลายทาง (terminal)
มากกว่า 10 แห่ง และมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเวลาเดียวกันเป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักจะใช้ใน
กิจการขนาดใหญ่ เช่นระดับกระทรวง เมนเฟรมส่วนใหญ่มีหน่วยความจำประมาณ 8 ล้านตัวอักษรขึ้นไป
และมีหน่วยความจำรองประมาณ 1,000 ล้านตัวอักษรขึ้นไป นอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง
ประมาณไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคำสั่งต่อวินาที (MIPS) ขอบเขตของคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดนั้นกำหนดได้ยาก
ถ้าจะถือความสามารถของเครื่องเป็นขอบเขต ไมโครคอมพิวเตอร์สมัยปัจจุบันนี้ มีความสามารถมากกว่าเมนเฟรม
สมัยเมื่อ 20 ปีก่อน ความสามารถสของมินิคอมพิวเตอร์สมัยนี้ ความสามารถของมินิคอมพิวเตอร์สมัยนี้อาจด้อยกว่า
ไมโครคอมพิวเตอร์ในอนาคตก็ได้ ในปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์เป็นที่นิยมและแพร่หลาย จนกระทั่งคำว่า
"ไมโครคอมพิวเตอร์" เปลี่ยนมานิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "คอมพิวเตอร์" ซึ่งหมายถึง "ไมโครคอมพิวเตอร์" นั่นเอง

ความหมายของสาระสนเทศ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิด
การเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้
การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ
มาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้ง
ภายในหรือภายนอกองค์การ

สําหรับเเม่น้อยกว่านี้ได้ยังไง


สําหรับเเม่น้อยกว่านี้ได้ยังไง
สําหรับคําว่าเเม่ของฉันนั้นเปรียบได้ทุกอย่างแม่ของฉันเป็นได้ทั้งครูเเม่ครัวเเละทุกทุกสิ่งทุกทุกอย่างสําหรับฉันแม่คอยสอนว่าสิ่งนี้ดีหรือสิ่งนั้นไม่ดีและวันนี้ฉันก็อยากจะขอโทษแม่ในสิ่งที่ฉันเคยทําไม่ดีกับเเม่เเละทําให้เเม่เสียใจฉันอยากจะบอกกับเเม่ว่าหนูขอโทษ

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552